เอ็สเอ็มอี
สถาบันการเงิน
หน่วยงานพันธมิตร
การจัดซื้อจัดจ้าง
สมัครงาน
EN
ติดต่อเรา
เกี่ยวกับ บสย.
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
Thai Credit Guarantee Corporation (TCG)
เกี่ยวกับ บสย.
หน่วยงานพันธมิตร
การจัดซื้อจัดจ้าง
สมัครงาน
ติดต่อเรา
ผลิตภัณฑ์ และบริการ
ลูกค้า SMEs
ผลิตภัณฑ์
คลินิกค้ำประกันสินเชื่อออนไลน์
ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs
บริการออนไลน์
ขั้นตอนการใช้บริการ
ข้อควรรู้การค้ำประกันสินเชื่อ
ประกาศ บสย. เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ
เลขที่บัญชีสำหรับโอนเงินค่าธรรมเนียม
อัตราค่าธรรมเนียมโครงการ
คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
ขั้นตอนการใช้บริการ
ข้อควรรู้การค้ำประกันสินเชื่อ
ประกาศ บสย. เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ
ช่องทางการชำระเงินค่าธรรมเนียมค้ำประกันและชำระหนี้
อัตราค่าธรรมเนียมโครงการ
คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
สำหรับธนาคาร
แบบฟอร์มคำขอ
ขั้นตอนการใช้บริการ
คำถามที่พบบ่อย
FAQ
ผลิตภัณฑ์
คลินิกค้ำประกันสินเชื่อออนไลน์
ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs
บริการออนไลน์
ขั้นตอนการใช้บริการ
ข้อควรรู้การค้ำประกันสินเชื่อ
ประกาศ บสย. เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ
เลขที่บัญชีสำหรับโอนเงินค่าธรรมเนียม
อัตราค่าธรรมเนียมโครงการ
คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
บริการออนไลน์
ห้องข่าว บสย.
ข่าวเศรษฐกิจประจำวัน
ข่าวสาร บสย.
ภาพข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ห้องข่าว บสย.
การพัฒนาสู่ความยั่งยืน
ข่าวสาร/ความรู้ SME
เรื่องน่ารู้ SME
เคล็ดลับความสำเร็จ
งานวิจัย-ผลสำรวจ
บทความ สขร.
ข่าวฝากประชาสัมพันธ์
ร่วมประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
ร่วมประเมินผลสัมฤทธิ์ พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564
ข่าวสาร/ความรู้ SME
English version
หน้าหลัก
เรื่องน่ารู้ SME
ค้ำประกันสินเชื่อ ดีอย่างไร
ค้ำประกันสินเชื่อ ดีอย่างไร
สวัสดีครับผู้อ่านและแฟนคลับ "เส้นทางเศรษฐี" ทุกท่าน ผมเชื่อว่า มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวนไม่น้อยที่กำลังประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจ ปัญหาใหญ่ๆ นั้นคงไม่พ้น 2-3 เรื่องนี้ เรื่องเงินทุนหมุนเวียน เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน กู้ยากเพราะการเดินบัญชี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ที่เป็นเจ้าของกิจการเล็กๆ
แต่เป็นเรื่องที่น่ายินดีครับที่ปีนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยพยายามทุกวิถีทาง ผ่านมาตรการการให้ความช่วยเหลือหลายๆ มาตรการ ร่วมกับหน่วยงานรัฐ สถาบันการเงิน และผ่านกลไกการทำงานของหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ที่มีบทบาทการให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอีโดยตรง รวมถึงหน่วยงานที่ชื่อ บสย. ครับ
ถึงตรงนี้ผู้อ่านคงมีคำถามในใจว่า แล้ว บสย. คือใคร? และมีบทบาทอย่างไร? ในการให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอี ผมขอกล่าวแนะนำ บสย. สั้นๆ ครับ บสย. หรือ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง เราไม่ใช่ธนาคาร เราไม่ได้ปล่อยสินเชื่อครับ แต่เราทำหน้าที่ ค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่เดินเข้าไปขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจกับธนาคารทั้งรัฐและเอกชน ปัจจุบัน เรามีเครือข่ายพันธมิตร 19 ธนาคาร ที่ได้ลงนามความร่วมมือพร้อมใจกันให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอีครับ
ผมจั่วหัวเรื่อง ในคอลัมน์ คลินิกค้ำประกัน โดย...มิสเตอร์ บสย. ว่า "ค้ำประกันสินเชื่อ ดีอย่างไร?" ซึ่งเป็นฉบับปฐมฤกษ์ของ บสย. ก็เพราะผมมีเรื่องเล่า ที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้อ่านที่เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่มีกิจการเล็กๆ และกำลังต้องการเงินทุน
เจ้าของแผงขายรองเท้าแฟชั่นรายนี้ เปิดแผงเล็กๆ ในย่านสีลม วันหนึ่ง เจ้าของแผงรองเท้า โทรมาหา บสย. เล่าให้ฟังว่า เขากำลังทำเรื่องกู้เงินจากธนาคารรัฐแห่งหนึ่ง วงเงินไม่มากแค่ 30,000 บาท ยื่นเรื่องขอกู้ไปสักพักหนึ่งแล้ว แต่ธนาคารยังไม่แจ้งความคืบหน้าว่า จะได้รับเงินกู้หรือไม่ ผมอยากได้เงินทุนมาหมุนเวียนในกิจการครับ ทำอย่างไรดีครับ อยากให้ บสย. ช่วยสอบถามไปยังธนาคารครับ
เราสอบถามข้อมูล 2-3 ข้อจากเจ้าของแผง จากนั้นช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นว่าโอกาสที่จะได้เงินทุนหมุนเวียนนั้นมีความเป็นไปได้หรือไม่ จากนั้นได้ติดต่อไปยังธนาคารที่เจ้าของแผงรองเท้าบอกว่าได้ไปทำเรื่องขอกู้เงินไว้ ไม่นานนัก เจ้าของแผงรายนี้ก็ได้รับเงินกู้ 30,000 บาท เป็นเงินทุนหมุนเวียนจากธนาคารแห่งนี้ เจ้าของแผงรองเท้ารายย่อยนี้ ได้รับอนุมัติวงเงินกู้ได้อย่างไร?
เหตุที่เจ้าของแผงรายนี้ได้รับเงินกู้จากธนาคาร ส่วนหนึ่งมาจากธนาคารแห่งนี้กำลังมีโครงการช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายย่อย โดยมี บสย. ร่วมโครงการและค้ำประกันสินเชื่อ 100 เปอร์เซ็นต์
โครงการค้ำประกันสินเชื่อ 100 เปอร์เซ็นต์ และโครงการของธนาคารรัฐแห่งนี้ ร่วมกันทำงานแบบคู่ขนาน คือ ธนาคารปล่อยกู้ และ บสย. เป็นผู้ค้ำประกันสินเชื่อ โครงการที่สร้างความอุ่นใจให้กับธนาคารและมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เพราะไม่กังวลกับปัญหาหนี้สูญ หากเจ้าของแผงรายนี้ มีปัญหาเรื่องการผ่อนชำระหรือผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารจะสามารถเรียกเก็บเงินจาก บสย. ได้
นี่คือหนึ่งในตัวอย่างโครงการความร่วมมือระหว่างธนาคารรัฐกับ บสย. ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายย่อย ซึ่งขณะนี้ ทั้งธนาคารออมสิน และ เอสเอ็มอี แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐ กำลังเร่งระดมให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สนับสนุนด้านเงินทุนให้กับกลุ่มผู้ประกอบกิจการรายย่อย
ฟังแบบนี้แล้ว ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี คงอุ่นใจขึ้นจากมาตรการการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาล โดยผ่านกลไกธนาคารรัฐและ บสย. ในฐานะผู้ค้ำประกัน ซึ่งข้อดีของการค้ำประกันสินเชื่อคือช่วยผู้ประกอบการลดภาระต้นทุนการประกอบธุรกิจ เมื่อเทียบจากการไปกู้ยืมเงินนอกระบบ ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ยแพง
แต่ใช่ว่าจะมีเพียงธนาคารของรัฐเท่านั้นที่กำลังมีโครงการให้ความช่วยเหลือ ยังมีธนาคารพาณิชย์หลายแห่งที่กำลังมีโครงการดีๆ สำหรับเจ้าของกิจการโดยมี บสย. ค้ำประกัน
ฉบับหน้า คลินิกค้ำประกัน และ มิสเตอร์ บสย. จะมาไล่เรียงว่ามีธนาคารไหนบ้างที่มีโครงการดีๆ มาช่วยเอสเอ็มอี รวมถึงเคล็ดลับการเข้าถึงแหล่งทุนในยุคที่ธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และเรื่องเล่าการเข้าถึงแหล่งทุนของผู้ประกอบการรายย่อย หรือบอกผ่านเรื่องราวและข้อข้องใจเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ได้ที่เฟซบุ๊ก "บสย. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม" เข้า Inbox หรือ โทรหาเราที่ Call Center (02) 890-9999 จันทร์-ศุกร์ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าครับ
บสย.
SMEs Club
เรื่องน่ารู้ SME
เคล็ดลับความสำเร็จ
งานวิจัย-ผลสำรวจ
บทความ สขร.
ข่าวฝากประชาสัมพันธ์
ร่วมประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
ร่วมประเมินผลสัมฤทธิ์ พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564
คำนวณวงเงินกู้
และความสามารถในการผ่อนชำระ
รายได้ต่อเดือน (บาท)
บาท
ภาระหนี้ต่อเดือน (บาท)
บาท
จำนวนปีที่กู้ (ปี)
5 ปี
10 ปี
15 ปี
20 ปี
30 ปี
ปี
อัตราดอกเบี้ย (%)
%
คำนวน
ผลการคำนวณวงเงินกู้
และความสามารถในการผ่อนชำระ
จำนวนปีที่กู้
0
อัตราการผ่อนต่อเดือน
0
วงเงินที่กู้ได้*
0
*ผลจากการคำนวณเป็นเพียงตัวเลขประมาณการ
Close