เอ็สเอ็มอี
สถาบันการเงิน
หน่วยงานพันธมิตร
การจัดซื้อจัดจ้าง
สมัครงาน
EN
ติดต่อเรา
เกี่ยวกับ บสย.
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
Thai Credit Guarantee Corporation (TCG)
เกี่ยวกับ บสย.
หน่วยงานพันธมิตร
การจัดซื้อจัดจ้าง
สมัครงาน
ติดต่อเรา
ผลิตภัณฑ์ และบริการ
ลูกค้า SMEs
ผู้ประกอบการทั่วไป
ผู้ประกอบการรายย่อย
คลินิกค้ำประกันสินเชื่อออนไลน์
ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs
ขั้นตอนการใช้บริการ
ข้อควรรู้การค้ำประกันสินเชื่อ
ประกาศ บสย. เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ
เลขที่บัญชีสำหรับโอนเงินค่าธรรมเนียม
อัตราค่าธรรมเนียมโครงการ
ขั้นตอนการใช้บริการ
ข้อควรรู้การค้ำประกันสินเชื่อ
ประกาศ บสย. เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ
ช่องทางการชำระเงินค่าธรรมเนียมค้ำประกันและชำระหนี้
อัตราค่าธรรมเนียมโครงการ
สำหรับธนาคาร
แบบฟอร์มคำขอ
ขั้นตอนการใช้บริการ
คำถามที่พบบ่อย
FAQ
ผู้ประกอบการทั่วไป
ผู้ประกอบการรายย่อย
คลินิกค้ำประกันสินเชื่อออนไลน์
ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs
ขั้นตอนการใช้บริการ
ข้อควรรู้การค้ำประกันสินเชื่อ
ประกาศ บสย. เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ
เลขที่บัญชีสำหรับโอนเงินค่าธรรมเนียม
อัตราค่าธรรมเนียมโครงการ
ห้องข่าว บสย.
ข่าวเศรษฐกิจประจำวัน
ข่าวสาร บสย.
ภาพข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ห้องข่าว บสย.
กิจกรรมเพื่อสังคม
ข่าวสาร/ความรู้ SME
เรื่องน่ารู้ SME
เคล็ดลับความสำเร็จ
งานวิจัย-ผลสำรวจ
บทความ สขร.
ข่าวฝากประชาสัมพันธ์
ร่วมประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
ข่าวสาร/ความรู้ SME
English version
หน้าหลัก
เรื่องน่ารู้ SME
รัฐปลดล็อก บสย. ค้ำเงินกู้ ไม่จำกัดแค่แบงก์
รัฐปลดล็อก บสย. ค้ำเงินกู้ ไม่จำกัดแค่แบงก์
คลินิกค้ำประกันฉบับนี้ ผมมิสเตอร์ บสย. มีความเคลื่อนไหว และข่าวสารดีๆ มาฝากกันอีกเช่นเคยครับ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ต้องการแหล่งเงินทุนขยายธุรกิจ แต่ขาดหลักประกัน หรือทรัพย์ประกันไม่เพียงพอ
ที่น่าติดตามอย่างยิ่งคือ การประชุมคระรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 ได้เห็นชอบให้แก้ไข พ.ร.บ.บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) พ.ศ.2534 เพิ่มบทบาทให้ บสย.สามารถค้ำประกันสินเชื่อจากแหล่งอื่นๆ มาทำธุรกิจ เช่น กู้เงินจากบริษัทไฟแนนซ์ และสถาบันการเงินประเภทอื่นๆ อาทิ นอนแบงก์ ลิสซิ่ง และแฟคตอริ่ง เป็นต้น อีกทั้งขยายประเภทสินเชื่อที่ให้การค้ำประกันครอบคลุมถึงสัญญาเช่าซื้อได้อีกด้วย เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น จากเดิมกำหนดให้ค้ำประกันเฉพาะสินเชื่อจากสถาบันการเงินประเภทธนาคารเท่านั้น
แน่นอนว่า การเปิดช่องให้ บสย. มีขอบข่ายการทำงานที่กว้างขึ้น สามารถค้ำประกันทุกอย่างที่เรียกว่าสินเชื่อ ทั้งจากไฟแนนซ์ หรือเงินกู้อื่นๆ เช่น สัญญาเช่าซื้อของ SMEs นอกจากธนาคาร จะทำให้การทำงานของ บสย. ในการช่วย SMEs มีความครอบคลุมและครบวงจรมากขึ้น
แม้จะเพียง “ขั้นแรก” เนื่องจากยังมีอีกหลายขั้นตอนกว่ากฎหมายที่แก้ไขนี้จะคลอดออกมาบังคับใช้กันได้ แต่ก็ถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่จะช่วย “ปลดล็อก” การเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ทำให้ SMEs มีแหล่งเงินทุน และประเภทสินเชื่อที่หลากหลายมากกว่าเดิม
สิ่งหนึ่งต้องยอมรับว่าในความเป็นจริง แม้จะมีมาตรการภาครัฐและการช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการอีกเป็นจำนวนมาก ที่ไม่สามารถเข้าถึงเงินกู้ในระบบธนาคาร ซึ่งค่อนข้างมีความเข้มงวดในการปล่อยกู้ ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมาก หันไปใช้บริการหนี้นอกระบบแทน การเพิ่มแหล่งเงินอื่นๆ ที่จะช่วยให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนจึงเป็นสิ่งจำเป็น ส่วนความคืบหน้าของการแก้ไขกฎหมายตัวนี้ว่าจะเริ่มบังคับใช้ได้เมื่อไรนั้น ผมมิสเตอร์ บสย. จะทำหน้าที่นำข่าวคราวมาแจ้งให้ทราบเป็นระยะๆ นะครับ
อีกกลุ่มที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ “นาโนไฟแนนซ์” ซึ่งการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ จะทำให้ บสย. สามารถเข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้กับบริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นสินเชื่อประเภทที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ด้วย ปัจจุบันในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว เริ่มมีเสียงจากผู้ประกอบการนาโนไฟแนนซ์หลายราย ออกมาพูดถึงปัญหาหนี้เอ็นพีแอลที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้หลายรายไม่กล้าปล่อยกู้ เพราะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ถึงแม้ว่าจะสามารถคิดอัตราดอกเบี้ยสูง รวมค่าธรรมเนียมไม่เกิน 36% ก็ตาม
และทำให้ยอดการปล่อยสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ที่รัฐบาลตั้งใจว่าจะเป็นอีกกลไกที่เข้ามาช่วยปลดล็อก การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ SMEs ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งการแก้ พ.ร.บ. บสย. ดังกล่าวจะทำให้ บสย.เข้ามาค้ำประกันสินเชื่อในส่วนตรงนี้ได้ครับ
ส่วนผู้ที่ต้องการคำปรึกษาด้านการขอสินเชื่อ และการค้ำประกันสินเชื่อ เช่นเดิม บสย. ยังคงทำหน้าที่ให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการ SMEs โทรมาที่ call center 02-890-999 หรือในเว็บไซต์
www.tcg.or.th
และเฟสบุ๊ก
www.facebook.com/tcg.or.th
บสย. พร้อมให้บริการเต็มที่ครับ
บสย.
SMEs Club
เรื่องน่ารู้ SME
เคล็ดลับความสำเร็จ
งานวิจัย-ผลสำรวจ
บทความ สขร.
ข่าวฝากประชาสัมพันธ์
ร่วมประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
คำนวณวงเงินกู้
และความสามารถในการผ่อนชำระ
รายได้ต่อเดือน (บาท)
บาท
ภาระหนี้ต่อเดือน (บาท)
บาท
จำนวนปีที่กู้ (ปี)
5 ปี
10 ปี
15 ปี
20 ปี
30 ปี
ปี
อัตราดอกเบี้ย (%)
%
คำนวน
ผลการคำนวณวงเงินกู้
และความสามารถในการผ่อนชำระ
จำนวนปีที่กู้
0
อัตราการผ่อนต่อเดือน
0
วงเงินที่กู้ได้*
0
*ผลจากการคำนวณเป็นเพียงตัวเลขประมาณการ
Close
เว็บไซต์นี้ มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อมอบบริการที่ดีที่สุดสาหรับคุณ
โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์ ถือเป็นการยอมรับใน
อ่านประกาศนโยบายคุกกี้
ยอมรับ
ปฏิเสธ