FAQ การจ่ายค่าประกันชดเชย โครงการ บสย. SMEs สร้างชาติ (PGS 9)

การขอรับเงินค่าประกันชดเชยสำหรับโครงการ บสย. SMEs สร้างชาติ (PGS 9) ธนาคารจะต้องดำเนินการอย่างไร บ้าง?
วิธีปฏิบัติในการขอรับเงินค่าประกันแบ่งเป็น 2 กรณี คือ กรณีแรกธนาคารยื่นขอรับเงินครึ่งแรกของอายุค้ำประกันสินเชื่อ และกรณีที่ 2 ธนาคารยื่นขอรับเงินครึ่งหลังของอายุค้ำประกันสินเชื่อ

ตัวอย่าง อายุค้ำประกันสินเชื่อ 10 ปี (อายุหนังสือค้ำประกัน) การขอรับเงินของธนาคารจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
FAQ
ซึ่งทั้งสองกรณี ลูกหนี้ที่ บสย. ค้ำประกันจะต้องไม่เป็น NPL ในปีที่ 1 ของการค้ำประกันสินเชื่อ จึงจะสามารถยื่นขอรับเงินค่าประกันชดเชยได้
จากตัวอย่างในข้อ 1 กรณีธนาคารมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับ SMEs มากกว่า 1 ครั้ง ภายใน 5 ปีแรกของอายุการค้ำประกัน หากธนาคารจะยื่นขอรับค่าประกันชดเชยกับ บสย. ระยะเวลาในการดูผลการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ บสย. จะพิจารณาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ครั้งใด
กรณีที่ 1 – ธนาคารปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับ SME 1 ครั้ง ภายใน 5 ปีแรก
FAQ
กรณีที่ 2 - ธนาคารปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับ SME มากกว่า 1 ครั้ง ภายใน 5 ปีแรก
FAQ
กรณีที่ SMEs เป็น NPL ตั้งแต่ปีที่ 2 และเป็นต้นไป แต่ธนาคารมีความประสงค์จะยื่นขอรับค่าประกันชดเชยตั้งแต่ปีที่ 6 สามารถดำเนินการได้หรือไม่?
กรณีที่ลูกหนี้เป็น NPL ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ธนาคารสามารถใช้สิทธิเพื่อขอรับเงินค่าประกันชดเชยได้จนกว่าจะสิ้นอายุการค้ำประกัน แต่อย่างไรก็ตามการขอรับเงินค่าประกันชดเชยในปีใด ธนาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ฯ ที่กำหนดไว้ในตัวอย่าง A1
FAQ
กรณีที่ บสย. ทราบว่า SMEs เป็น NPL ตั้งแต่ปีที่ 1 ธนาคารจะขอต่ออายุการค้ำประกัน SMEs รายดังกล่าว ได้หรือไม่?
ไม่ได้ เนื่องจาก SMEs รายดังกล่าวไม่สามารถคงคุณสมบัติให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ฯ และธนาคารไม่สามารถขอรับเงินค่าประกันชดเชยจาก บสย. ดังนั้น บสย. จะไม่ต่ออายุค่าธรรมเนียม SMEs รายดังกล่าวได้
กรณีอายุสัญญาสินเชื่อที่ธนาคารปล่อยให้ผู้กู้มีอายุสัญญาน้อยกว่าอายุหนังสือค้ำประกัน ธนาคารจะขอยื่นรับเงินค่าประกันชดเชยได้อย่างไร
การนับอายุในการขอยื่นขอรับเงินค่าประกันชดเชย บสย. นับจากอายุหนังสือค้ำประกันของ บสย. เท่านั้น โดยไม่พิจารณาอายุของสัญญาสินเชื่อ สำหรับเงื่อนไขการจ่ายค่าประกันชดเชยเป็นไปตามเงื่อนไขตามที่กำหนดในข้อ 1
กรณีลูกหนี้ SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดาเสียชีวิตระหว่างอายุการค้ำประกันภายใน 5 ปีแรก ธนาคารสามารถยื่นขอรับค่าประกันชดเชยจาก บสย. ได้หรือไม่
ธนาคารสามารถยื่นขอรับเงินค่าประกันชดเชยได้ตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของ บสย. โดยธนาคารได้ติดต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดกเพื่อทำ TDR และมีหนังสือบอกกล่าวทวงถาม (Notice) ตามหลักเกณฑ์ที่ บสย. กำหนด ทั้งนี้ กรณีที่ไม่สามารถติดต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดกเพื่อทำ TDR ธนาคารต้องแจ้งให้ บสย. ทราบเหตุผลที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้พร้อมกับการยื่นขอรับเงินค่าประกันชดเชย


หมายเหตุ : การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. ขอความร่วมมือธนาคารชี้แจง หลักเกณฑ์ฯ ให้ SMEs ทราบด้วย ตามหลักการ Market Conduct

คำนวณวงเงินกู้
และความสามารถในการผ่อนชำระ

บาท
บาท
ปี
%

ผลการคำนวณวงเงินกู้
และความสามารถในการผ่อนชำระ

  • จำนวนปีที่กู้ 0
  • อัตราการผ่อนต่อเดือน0
  • วงเงินที่กู้ได้*0
*ผลจากการคำนวณเป็นเพียงตัวเลขประมาณการ