ก่อนที่เราจะมาทำธุรกิจของเราให้อยู่ในระบบแฟรนไชส์ นั้น ควรมาทำความเข้าใจก่อนนะคะว่า แฟรนไชส์นั้น หมายถึงอะไร เห็นมีแฟนๆสมาชิก หลายต่อหลายท่าน สอบถามเข้ามาเรื่องการทำแฟรนไชส์ มากมายพอสมควร ช่วงนี้ได้โอกาสเลยขอบรรยายให้ฟัง ปูเสื่อรอได้เลยค่ะ..
แฟรนไชส์ (Franchise)
มีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศส คือ “Franchir” แปลว่า “สิทธิพิเศษ” “Franchise” แปลว่า สิทธิพิเศษที่บริษัทแม่มอบให้กับผู้ที่เข้าร่วมกิจการโดยสิทธิพิเศษนี้จะครอบคลุมระบบเกือบทั้งหมดเพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจการนั้นสามารถทำธุรกิจได้แม้จะไม่มีประสบการณ์มาเลย
“แฟรนไชส์” หมายถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจหรือตลาดในการกระจายสินค้า หรือบริการสู่ผู้บริโภคโดยหน่วยธุรกิจซึ่งประสบความสำเร็จและต้องการขยายการจำหน่ายสินค้า หรือบริการของตน (บริษัทแม่) โดยผ่านหน่วยค้าปลีก(บริษัทสมาชิก) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการอิสระ และทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงร่วมกัน ภายใต้เครื่องหมายการค้าหรือบริการ เทคนิคการตลาดและอำนาจของบริษัทแม่ ในการควบคุมหน่วยธุรกิจนั้นเพื่อแลกกับการได้รับชำระค่าธรรมเนียม และค่ารอยัลตี้ (Royalty) จากบริษัทสมาชิกดังกล่าว
แฟรนไชส์ (Franchise)
หมายถึง ระบบธุรกิจที่ประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ
จะต้องมีเจ้าของสิทธิ์ (Franchisor) ถ่ายทอดวิทยาการ การทำธุรกิจทุกอย่างให้แก่ผู้รับสิทธิ์อย่างใกล้ชิด
ผู้รับสิทธิ์ (Franchisee) จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ในการใช้ชื่อการค้าเป็นค่าธรรมเนียม เริ่มแรก (Franchise Fee)
ผู้รับสิทธิ์จะต้องจ่ายค่าตอบแทน (Royalty Fee) อย่างต่อเนื่องตามสัดส่วนของผลการดำเนินงาน อาจจะเรียกเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์ ต่อเดือนหรือต่อปีจากยอดขาย หรือบางทีก็อาจจะเก็บจากยอดสั่งซื้อสินค้า
“แฟรนไชซี่” จะได้รับบริการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา การสนับสนุนและช่วยแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากแฟรนไชซอร์ตัวจริงเท่านั้น ที่จะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์เกิดขึ้นในไทยเพราะคนที่ไม่เคยทำธุรกิจมองว่า“แฟรนไชส์”ง่าย สะดวก และมีสูตรสำเร็จ แนวโน้มของธุรกิจแฟรนไชส์เริ่มเป็นที่นิยมในไทยเหมือนกับประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ออสเตรเลีย มาเลเซีย และสิงคโปร์
ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ แบรนด์ ที่ดีและเป็นที่ยอมรับจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งตรงนี้จะต้องมีความชัดเจน เนื่องจากการสร้างชื่อเสียง ภาพลักษณ์ แบรนด์ ไม่ได้สร้างโดยใช้เวลาแค่สองสามเดือน ดังนั้นถ้าแฟรนไชซอร์ที่มีอายุการเปิดหรือประสบการณ์น้อย หมายความว่าชื่อเสียงหรือแบรนด์ของเขายังไม่แข็งแรงพอต้องระวัง
สะดวกในการจัดอุปกรณ์ เครื่องจักร วัสดุสิ้นเปลืองได้ง่าย และได้สิทธิซื้อในราคาที่ต่ำกว่า เนื่องจากร้านแฟรนไชส์ทุกร้านจะต้องมีการตกแต่งในคอนเซ็ปท์เดียวกัน แฟรนไชซอร์จะเป็นผู้กำหนดว่าจะต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร หรือวัสดุสิ้นเปลืองแบบไหน ซึ่งแฟรนไชซอร์สามารถซื้ออุปกรณ์ เครื่องจักร หรือวัสดุสิ้นเปลืองให้กับแฟรนไชซี่ได้ในราคาที่ถูกกว่าการที่แฟรนไชซี่จะ ซื้อเพื่อไปเปิดสาขาของตัวเอง
ได้รับผลทางด้านกิจกรรมทางการตลาด โดยแฟรนไชซอร์ที่ดีจะต้องทำกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างแบรนด์ และรักษาแบรนด์ พร้อมทั้งต้องช่วยในเรื่องของการเพิ่มยอดขายให้กับแฟรนไชซี่ด้วย เพราะฉะนั้นหากแฟรนไชซอร์ที่มีการส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่องทั้งการทำ มาร์เก็ตติ้งฟรี และแอดเวอร์ไทซิ่งฟรี ระบบธุรกิจแฟรนไชส์จะเป็นระบบการดำเนินการที่ถูกกว่าการเริ่มต้นทำธุรกิจ ใหม่ด้วยตัวเอง
การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ทั้งจำนวนเงินที่จะลงทุนเนื่องจากแฟรนไชซอร์จะต้องมีการกำหนดจำนวนที่แน่นอน ให้กับแฟรนไชซี่แล้ว นอกจากนี้ยังไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาหลักๆ เนื่องจากเป็นระบบที่มีเทคนิค ระบบการทำงาน กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แน่นอนอยู่แล้วรวมทั้งยังมีเรื่องของชื่อเสียงที่ ย่อมดีและเป็นที่ได้รับของลูกค้าอยู่แล้ว
ด้วยเหตุที่แฟรนไชซีเป็นเจ้าของกิจการ และเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง การปฏิบัติงานและตัดสินใจหลายๆเรื่อง จึงเป็นความรับผิดชอบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ด้วยจุดนี้ที่ทำให้ผลเสียในด้านการสูญเสียการควบคุมโดยตรงเกิดขึ้นได้มาก หากระบบต่างๆ ของแฟรนไชส์ไม่ดีพอ หรือยากต่อการปฏิบัติ
ค่าใช้จ่ายสูง แฟรนไชซีจำเป็นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายล่วงหน้าเพื่อการได้มาซื้อสิทธิในการ ประกอบกิจการ นอกจากนี้แฟรนไชซียังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น เงินลงทุนเพื่อตกแต่งร้านค้าและค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเป็นประจำสำหรับบริการสนับสนุนที่ได้รับจากแฟรนไชซอร์
องค์ความรู้ทางด้านแฟรนไชส์ มีให้ดาวน์โหลด ฟรีมากมายนะคะ หาต่อได้ที่http://www.thaifranchisecenter.com/download_file/index.php