การดำเนินงาน เพื่อความยั่งยืน

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เริ่มดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมบนพื้นฐานของกรอบวิสัยทัศน์และพันธกิจของ บสย. มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 โดยตระหนักถึงหน้าที่ของการเป็นหน่วยงานของภาครัฐ ที่ต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืนของสังคม สิ่งแวดล้อม และสร้างคุณประโยชน์ต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของ บสย. โดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อให้เกิดการดำรงอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้ประเทศไทยมีการเติบโตทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

นอกเหนือจากการสร้างภาพลักษณ์ในการทำธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว บสย. ได้ดำเนินกิจกรรมด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กร ชุมชน และสังคม รวมถึงการมีส่วนร่วมของสังคมทั้งภายนอกและภายในองค์กรแบบคู่ขนาน ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของพนักงาน พร้อมทั้งการนำศักยภาพและความสามารถพิเศษขององค์กรมาพัฒนาประเทศชาติและสังคมที่ บสย. เป็นส่วนประกอบให้แข็งแกร่งขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน

บสย. ให้ความสำคัญกับการสร้างองค์กรให้มีความยั่งยืน และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเศรษฐกิจประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้า บสย. จึงได้กำหนดนโยบายด้านการแสดงความรับความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยยึดกรอบการดำเนินงานตามพันธกิจเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นสำคัญ นอกเหนือจากการให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน บสย. มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคม ทั้งนี้ บสย. เชื่อมั่นว่า องค์กรจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ต้องประกอบด้วยปัจจัยสำคัญต่างๆ ทั้งภายนอกและภายใน จึงได้กำหนดกรอบนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ดังต่อไปนี้

  1. น้อมนำแนวพระราชดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานเพื่อสังคม อันจะช่วยส่งเสริมให้องค์กร สังคมและชุมชน เกิดการพัฒนาและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
  2. มุ่งเน้นความร่วมมือ วัฒนธรรมองค์กรของ บสย. กำหนดให้ “ความร่วมมือ” เป็นลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร ดังนั้น การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ บสย. จึงคำนึงถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ บสย. ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในการพัฒนาลูกค้าและชุมชน รวมถึงความร่วมมือของพนักงานในกิจกรรมเพื่อสังคมของ บสย. โดยเน้นการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของพนักงาน ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกให้พนักงาน มีจิตอาสาและมีส่วนร่วมในการทำสิ่งที่ดีต่อสังคมในการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์เพื่อร่วมพัฒนาชุมชนและแก้ไขปัญหาสังคม
  3. นำแนวปฏิบัติด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมาเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (CSR-in-process) ด้วยการนำศักยภาพและขีดความสามารถของ บสย. มาใช้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสู่สังคมและทำให้ชุมชนเข้มแข็ง
  4. มุ่งดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม คุณธรรม โดยมุ่งเน้นการเจริญเติบโตของผู้ประกอบการ SMEs ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของสังคม และชุมชน ในทุกมิติ อาทิ ด้านพัฒนาการศึกษา ด้านพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านทำนุบำรุงศาสนา และด้านการมีส่วนร่วมของพนักงาน โดยทุกกิจกรรมมุ่งเน้นให้ผู้บริหาร และพนักงาน เข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนเน้นการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับพนักงานมีความรู้สึกที่จะต้องเอื้อเฟื้อต่อสังคมภายนอกและภายในองค์กร

ในฐานะที่เป็นหน่วยงานสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ที่มีบทบาทหน้าที่ในการช่วยเหลือสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน บสย. ได้ดำเนินกิจกรรมด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โดยนำนโยบายด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของ บสย. เป็นกรอบในการดำเนินกิจกรรม เพื่อเน้นย้ำให้สังคมและชุมชนรับรู้ความตั้งใจของ บสย. ในการแสดงความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ สังคม เศรษฐกิจ และการมีส่วนร่วมด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการ การสนับสนุนสังคมและชุมชม เพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน รวมถึงการสร้างการรับรู้ในบทบาท หน้าที่ของ บสย. แก่กลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง

คำนวณวงเงินกู้
และความสามารถในการผ่อนชำระ

บาท
บาท
ปี
%

ผลการคำนวณวงเงินกู้
และความสามารถในการผ่อนชำระ

  • จำนวนปีที่กู้ 0
  • อัตราการผ่อนต่อเดือน0
  • วงเงินที่กู้ได้*0
*ผลจากการคำนวณเป็นเพียงตัวเลขประมาณการ
เว็บไซต์นี้ มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อมอบบริการที่ดีที่สุดสาหรับคุณ
โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์ ถือเป็นการยอมรับใน อ่านประกาศนโยบายคุกกี้